Get Adobe Flash player

You are here

Home

Feed aggregator

การพัฒนานวัตกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าให้กับวิสาหกิจวัฒนธรรม

ระหว่างวันที่ 22 - 24 กันยายน 2563 สำนักศิลปวัฒนธรรมศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าให้กับวิสาหกิจวัฒนธรรม ณโรงแรมสงขลา เมอเมด จังหวัดสงขลา สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการครั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านภาษาด้านนวัตกรรมทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับอาจารย์นักศึกษาและกลุ่มวิสาหกิจวัฒนธรรมและเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางวัฒนธรรมต่อการสร้างมูลค่าให้กับวิสาหกิจวัฒนธรรมเป็นการเชื่อมเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยโดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งบุคลากรภายในและภายนอกจำนวน 10 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดและแปรรูปเห็ดบ้านล่าง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชะมายเครื่องแกง ประชาคมวัฒนธรรมเมืองทุ่งสงชุมชนวิถีพุทธคลองแดน กลุ่มแม่บ้านท่ามะปรางสามัคคี ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทะเลสาบสงขลา ชมรมรักโนราท่าข้าม พิพิธภัณฑ์โนราเติมวิน วาด และ กลุ่ม SIKAO STREET ART ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการจัดโครงการในครั้งนี้กลุ่มวิสาหกิจต่างๆสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้จริง สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและครอบครัว














คณะบริหารธุรกิจ ร่วมบรรยายในโครงการสร้างการรับรู้ระเบียบเศรษฐกิจภาคใต้และซัพพลายเชนฯ ดำเนินการโดยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยนันท์ ปัญญาวุทโส คณบดี คณะบริหารธุรกิจ นำคณะผู้บริหาร และวิทยากร เข้าร่วมบรรยายให้ความรู้หัวข้อสร้างการรับรู้ระเบียบเศรษฐกิจภาคใต้และซัพพลายเชน ในโครงการสร้างการรับรู้ระเบียบเศรษฐกิจภาคใต้และซัพพลายเชนและสร้างการรับรู้ให้กับผู้เรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ภายใต้โครงการผลิตบุคลากรด้านโลจิสติกส์และสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการดำเนินการโดยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ปิยวรรณ มานะ และอาจารย์จิราวรรณ จันทร์สุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ โรงแรมรามายะลา จ.ยะลา และโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี































มทร.ศรีวิชัย อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนารายวิชาต้นแบบ Active Learning ให้แก่อาจารย์ผู้สอน

ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนารายวิชาต้นแบบ Active Learning ให้แก่อาจารย์ผู้สอน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาเทคนิ วิธีการสอนสู่สากล โดยวิทยาการผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันพัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาต้นแบบ STTA ณ โรงแรม ม่อนคำ วิลเลจ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา










คณะวิศวกรรมศาสตร๋ ร่วมกิจกรรม​ kick​ off​ การใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม​เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่​

กิจกรรม​ kick​ off​ การใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม​เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่​ : ชุมชนเข้มแข็งด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม​ โดย​ วช.​ ร่วมกับ​ กอ.รมน.​ ส่งเสริม​เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำและไอน้ำ​ โดย​ ผศ.​จีระศักดิ์​ เพียรเจริญ, รศ.ดร.​จารุวัฒน์​ เจริญจิต​ และคณะ​ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์​ มทร.ศรีวิชัย​ ในการยกระดับเศรษฐกิจ​ฐานราก​ในพื้นที่​ ชุมชนบ้านดอน อ.วิหารแดง​ จ.​ สระบุรี






คณะวิศวกรรมศาสตร๋ จัดโครงการวิจัยระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศสำหรับเทศบาลสงขลาเมืองอัจฉริยะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์จัดโครงการวิจัยระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศสำหรับเทศบาลนครสงขลาเมืองอัจฉริยะ เพื่อขจัดปัญหาหมอกควันในพื้นที่จ.สงขลา
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดโครงการวิจัยระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศสำหรับเทศบาลสงขลาเมืองอัจฉริยะ โดยมีรศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ณัฐพล แก้วทอง หัวหน้าโครงการวิจัยฯ นักวิจัยในโครงการฯ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และตัวแทนจากชุมชนทั้ง 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนย่านเมืองเก่า ชุมชนวัดชัยมงคล ชุมชนวัดหัวป้อม ชุมชนวัดไทรงาม และชุมชนวชิราซอยคี่ มาเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งภายในงานได้มีการบรรยายในเรื่องของความรู้พื้นฐาน และผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดย ดร.เกียรติศักดิ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศ และการบรรยายของเทคโนโลยีระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศสำหรับเทศบาลนครสงขลาเมืองอัจฉริยะโดย อาจารย์ธนากร อินทสุทธิ์ นักวิจัยในโครงการฯ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อได้นำความรู้ไปขจัดปัญหาหมอกควันในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งงานวิจัยนี้จะดำเนินการในส่วนของงานด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โดยจะทำการแจ้งเตือนภัยมลพิษทางอากาศให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่เขตเทศบาลนครสงขลา ได้จัดทำการเก็บค่าตัวแปรตามที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแจ้งเตือนภัยความรุนแรงของมลพิษทางอากาศรวมถึงจุด hotspot ที่ได้จากดาวเทียมต่างๆนำมาวิเคราะห์บนระบบคราวน์ เพื่อสร้างเป็นแผนที่สภาพพิษในแต่ละวันผ่าน smart phone application LINE อีกทั้งยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้จากตัวแทนในชุมชนสู่นักวิจัย การวิเคราะห์ตำแหน่งติดตั้งเครื่องวัดมลพิษทางอากาศ และตั้งกลุ่มภาคีในการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศในแต่ละชุมชน ซึ่งได้มีการลงพื้นที่สำรวจตำแหน่งเครื่องวัดมลพิษทางอากาศของแต่ละชุมชนอีกด้วย 
















คณะบริหารธุรกิจ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำด้านบริหารธุรกิจ 9 มทร.

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำด้านบริหารธุรกิจ 9 มทร. ณ ห้อง 63205 อาคาร 63 คณะบริหารธุรกิจ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน 2563 โดยมีผู้ช่วยศาตราจารย์ยุทธนา พงษ์พิริยะเดชะ รองอธิการบดี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้






โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ หลักสูตรจิตอาสา ๙๐๔

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณพงค์ สังขวาสี รองอธิการบดี ประธานเปิดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ หลักสูตรจิตอาสา ๙๐๔บรรยายขยายผลในหัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย"ในสถานศึกษา ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยวิทยากรจิตอาส ๙๔ "หลักสูตรหลักประจำ" เป็นเบ้า เป็น แม่พิมพ์" และ "หลักสูตรพื้นฐาน"ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสงขลา (ศอ.จอส.พระราชทาน จังหวัดสงขลา)โดยมีคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา เข้าร่วมการบรรยายดังกล่าว กว่า ๔๐๐ คน ซึ่งจัดโดย กองพัฒนานักศึกษา มทร.ศรีวิชัย
ณ อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิขัย สงขลา


























โครงการแต่งแต้มสีสันลงบนประติมากรรมรูปปั้นหนูแมว

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 คุณจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย ผศ.อุดร นามเสน รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ประธานกรรมการ บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผอ.สถาบันฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านปิโตรเลียม นายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม พลังงานจังหวัด สงขลา ผอ.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ร่วมเปิดโครงการแต่งแต้มสีสันลงบนประติมากรรมรูปปั้นหนูแมว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา  ได้ตั้งชื่อแมวว่า "เต้าคั่ว" และหนูว่า "ลูกโหนด" ณ บริเวณหาดชลาทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชศรีวิชัยสงขลา











ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล 12 สิงหาคม 2563

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ศาสตราจารย์สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์  บุคลากร นักศึกษา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาส   วันเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 12 สิงหาคม 2563 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้  ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา

 








ต่อต้านทุจริต คอรัปชั่น

 

         ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการให้บริการบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ด้วยความโปร่งใส การต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมคุณธรรม  และจริยธรรม ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม พร้อมทั้งกระตุ้นเตือนและให้แนวทาง    ในการปฏิบัติต่อคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นขึ้นในทุกๆ กรณี

 


มทร.ศรีวิชัย ส่งมอบอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อโรคโควิด ๑๙

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ศาสตราจารย์ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ร่วมส่งมอบอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อโรคโควิด ๑๙ โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้น โดยคณาจารย์ บุคลากร ของคณะต่างๆ เป็นการร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ประกอบไปด้วย 1. หน้ากากผ้าสะท้อนน้ำ ผลงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. FACE SHIELD ป้องกันเชื้อโรค ผลงานคณะศิลปศาตร์ 3. กล่องป้องกันเชื้อโรคฟุ้งกระจาย และแผงกั้นการตรวจผู้ป่วย ผลงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ 4. ชุดPPE ป้องกันสำหรับคุณหมอและพยาบาล ผลงานคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ 5. สื่อเรียนรู้อะนิเมชั่น เข้าใจได้ง่าย ผลงานคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาสาพัฒนาชุมชนในสถานการณ์โรคโควิด-๑๙ และโครงการพัฒนาสร้างห้องความดันลบสำหรับผู้ปวยโรคโควิด-๑๙ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้ออันตรายสู่ภายนอก แก่สถานพยาบาลในพื้นที่ จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมบริการทางวิชาการที่อาสาพัฒนาชุมชนในสถาณการณ์โรคโควิด-๑๙ ณ อาครศรีวิศววิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย สงขลา





































โครงการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผลการประกวด

สำนักงานอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ได้กำหนดจัดโศรงการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ประจำปึงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ เพื่อสร้างนวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการภายในมหาวิทยาลัย และเพื่อส่งเสริมให้นำนวัตกรรมมาใช้ในองค์กรเพื่อสร้างระบบการบริหาจัดการสมัยใหม่ ผลการประกวด

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายจักรพันธ์  คงนคร สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการ การจัดซื้อจัดจ้างและระบบติดตามสถานะด้วยแอพพลิเคชัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายนวพล เทพนรินทร์ การพัฒนาเว็บแอ็บพลิเคซันในการสรรหาทรัพยากรบุคคล กองบริหารงานบุคคล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายศุภสัณห์ ชัยอนันตกูล ระบบบริหารจัดการใช้งานอาคารเรียนด้วยเทคโนโลยี ดิจิตอล

รางวัลชมเชย นายสุขรัฐจิต มงคลศิริเจริญ ระบบติตตามข้อสั่งการคณะครุศาสตร์เทคโนโลยี

รางวัลชมเชย  นางสาวโสภิดา จันทชูโต ระบบบูรณาการบริการหน่วยบริการทางวิขาการแก่สังคมทางวิชาการ

ทางคณะกรรมการดำเนินงานขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน




































ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือ​การจัดทำหน้ากากอนามัย สำหรับผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2532 นายจารุวัฒน์​ เกลี้ยงเกลา​ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นาง​กัญ​จ​นา​ เกลี้ยง​เกลา​ นายก​เหล่า​กาชาด​จังหวัด​สงขลา​ นางสาวฐิติรัตน์ แก้วขาว​ เหรัญญิกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา​ กรรมการและสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา​ ตัวแทน​โรงพยาบาล​สงขลา​ สาธารณสุขสงขลาจังหวัด​สงขลา​ พัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา และ​ ดร.นุชลี ทิพย์มณฑา คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา ร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือ​การจัดทำหน้ากากอนามัย สำหรับผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนกลุ่มเสี่ยง ณ ​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย​ วิทยาเขตสงขลา อำเมือง จังหวัดสงขลา














NBT SOUTH ช่อง11 ถ่ายทำการทำหน้ากากด้วยเทคโนโลยีสะท้อนน้ำ

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 เวลา 13.00 น. สถานีโทรทัศน์วิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมถ่ายทำการทำหน้ากากด้วยเทคโนโลยีสะท้อนน้ำ ช่วยให้หน้ากากมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้ได้อย่างดีเยี่ยมและสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่าหน้ากากผ้าทั่วไปอีกด้วยโดยมี ผศ. พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์ และ ผศ. พรโพยม วรเชฐวราวัตร์ ร่วมแนะนำวิธีการทำหน้ากาก การตัดเย็บ ณ อาคารศรีวิศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับการผลิตหน้ากากด้วยเทคโนโลยีสะท้อนน้ำในครั้งนี้ จะนำไปส่งมอบให้กับพยาบาล โรงพยาบาลเกาะยอ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป





































มทร.ศรีวิชัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดร  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม หรือศูนย์ AIC และการประชุมทำความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ AIC กับ นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยนายพัชโรภาส เหลืองวิไล ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศณ ห้องประชุมปรินซ์ 3 โรงแรมปรินซ์พาเลส มหานาค กรุงเทพฯ โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีการลงนาม มุ่งให้ศูนย์ AIC เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีการเกษตร และเป็นแหล่งบ่มเพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเกษตรแปรรูป และการตลาด รวมทั้ง มีแผนการเปิดห้องเรียนออนไลน์ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ทุกพื้นที่ ร่วมบูรณาการการทำงานกับ 4 พันธมิตรหลัก ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร และภาควิชาการ ในการจัดตั้งศูนย์ AIC ภายในมหาวิทยาลัยตามแต่ละจังหวัด ในรูปแบบโครงสร้าง 1 จังหวัด 1 ศูนย์ จำนวน 77 ศูนย์ อาทิ ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.บูรพา ม.แม่ฟ้าหลวง ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ม.เทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี ม.นเรศวร ม.ราชภัฏเพชรบุรี ม.ราชภัฎร้อยเอ็ด ม.ราชภัฏอุดรธานี ม.วลัยลักษณ์ และ ม.หอการค้าไทย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นต้น และจะนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์เครือข่าย AIC ภายในจังหวัดต่อไป ซึ่งประกอบด้วย 1) ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร และ 2) ศูนย์วิจัย ทดลอง ทดสอบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรอีกด้วย การจัดตั้งศูนย์ AIC มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตร อีกทั้งยังเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกร สนับสนุน Smart Farmer รวมถึง Young Smart Farmer ในแต่ละจังหวัด และผลักดันงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการวิจัย การพัฒนา การลงทุน การแปรรูป และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม แนวทางการขับเคลื่อนของศูนย์ AIC มุ่งเน้นการส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมช่างเกษตร ปราชญ์เกษตร ที่เป็นเกษตรกรต้นแบบใช้เทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดึงกลุ่ม Young Smart Farmer เข้าร่วมเสริมสร้างองค์ความรู้ทั้งด้าน e-commerce การสร้าง Story และ Packaging ให้แก่สินค้าเกษตร รวมถึงมาตรการ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกรไทยมีองค์ความรู้และมีเครือข่ายที่ดี เพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคเกษตร 4.0 อย่างยั่งยืน











รับมอบเจลทำความสะอาดมือ

มื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ศาตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี รับมอบเจลทำความสะอาดมือ ที่จัดทำโดยคณาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มอบโดย ดร.นุชลี ทิพย์มณฑา คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับบุคลากรและนักศึกษา ในการร่วมกันป้องกันหมั่นล้างมือบ่อยๆ ล้างให้สะอาด เพราะถือเป็นหนึ่งในวิธีช่วยป้องกันไวรัส COVID-19 ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย สงขลา















รับมอบเจลทำความสะอาดมือ

มื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ศาตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี รับมอบเจลทำความสะอาดมือ ที่จัดทำโดยคณาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มอบโดย ดร.นุชลี ทิพย์มณฑา คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับบุคลากรและนักศึกษา ในการร่วมกันป้องกันหมั่นล้างมือบ่อยๆ ล้างให้สะอาด เพราะถือเป็นหนึ่งในวิธีช่วยป้องกันไวรัส COVID-19 ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย สงขลา















พิธีเปิดการแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรม ระดับชาติ

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี ประธานกล่าวเปิดงาน การแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 12 จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามาแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถด้านวิชาการต่งๆ จึงจำเป็นต้องจัดการแข่งขันทักษะทางวิชาการในครั้งน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดโครงการในวันนี้ จะทำให้นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ความสามารถที่มี และทักษะทางด้านวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ โดยมีโดยกลุ่มสถาบันเครือข่ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9แห่ง ประกอบด้วย มทร.ธัญบุรี มทร.กรุงเทพ มทร.ตะวันออก มทร.พระนคร มทร.รัตนโกสินทร์ มทร.ศรีวิชัย มทร.สุวรรณภูมิ มทร.อีสาน และมทร.ล้านนา กำหนดจัดให้มีการแข่งขันราชมงคลวิชากาวิศวกรรมป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552จนถึงปัจจุบันนี้ เป็นครั้งที่ 12 เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในกลุ่มสถาบันเครือข่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคล ทั้ง 9 แห่ง ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพของนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ จำนวน 17 ประเภท การแข่งขัน มีหน่วยงานเข้าร่วมทั้งหมด 12 หน่วยงาน การจัดโครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการวิศวกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 12 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแข่งขันทักษะวิชาชีพของนักศึกษาและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านทักษะวิชาชีพให้ สามารถแข่งขัน ในระดับชาติและออกสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ณ ห้องประชุมศรีวิศววิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์






















































































พิธีเปิดการแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรม ระดับชาติ

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี ประธานกล่าวเปิดงาน การแข่งขันราชมงคลวิชาการวิศวกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 12 จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามาแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถด้านวิชาการต่งๆ จึงจำเป็นต้องจัดการแข่งขันทักษะทางวิชาการในครั้งน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดโครงการในวันนี้ จะทำให้นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ความสามารถที่มี และทักษะทางด้านวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ โดยมีโดยกลุ่มสถาบันเครือข่ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9แห่ง ประกอบด้วย มทร.ธัญบุรี มทร.กรุงเทพ มทร.ตะวันออก มทร.พระนคร มทร.รัตนโกสินทร์ มทร.ศรีวิชัย มทร.สุวรรณภูมิ มทร.อีสาน และมทร.ล้านนา กำหนดจัดให้มีการแข่งขันราชมงคลวิชากาวิศวกรรมป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552จนถึงปัจจุบันนี้ เป็นครั้งที่ 12 เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาในกลุ่มสถาบันเครือข่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคล ทั้ง 9 แห่ง ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพของนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ จำนวน 17 ประเภท การแข่งขัน มีหน่วยงานเข้าร่วมทั้งหมด 12 หน่วยงาน การจัดโครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการวิศวกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 12 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแข่งขันทักษะวิชาชีพของนักศึกษาและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านทักษะวิชาชีพให้ สามารถแข่งขัน ในระดับชาติและออกสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ณ ห้องประชุมศรีวิศววิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์






















































































นายกสภามหาวิทยาลัย มอบเกียรติบัตรและของที่ระลึกกล่าวชื่นชมและยกย่องนักศึกษา

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต นายกสภามหาวิทยาลัย มอบเกียรตบัตรและของที่ระลึกให้กับนายรัฐพัฒน์ วงพระจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ รับรางวัลเหรียญทองแดง กีฬายูยิสสู . ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10 - 19 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมศรีวิชัย มทร.ศรีวิชัย สงขลา





Pages

RMUTSV Service

 ระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบบริการสารสนเทศระบบข่าวประชาสัมพันธ์ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นห้องเรียนเสมือน LMS